วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของสื่อวัสดุ

          คำว่าวัสดุ  หมายถึง  สิ่งของที่มีขนาดเล็กบางอย่างมีความทนทานสูง  แต่บางอย่างฉีกขาดแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย  เรียกว่า  วัสดุสิ้นเปลือง  วัสดุมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก    เมื่อนำวัสดุมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า  “สื่อวัสดุ”  ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการบรรจุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  บางชนิดสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง  เช่น  แผนภูมิ  แผนภาพ  แผนสถิติ  โปสเตอร์  แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ในการฉายเพื่อขยายเนื้อหาสาระให้มีขนาดใหญ่  หรือเสียงดังขึ้นจึงจะสื่อความหมายอย่างชัดเจน  เช่น  ฟิล์ม  สไลด์  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปเสียง  แผ่นโปร่งใส  เป็นต้น  
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อวัสดุ
ข้อดี        แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อการเข้าใจให้เข้าใจง่ายขึ้น
สามารถผลิตได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ
สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
ข้อจำกัด ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
              การออกแบบและการผลิตไม่ดี อาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
ประเภทของสื่อวัสดุ
สื่อวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน  หากจำแนกตามคุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็นมีดังนี้
1.สื่อวัสดุ 2 มิติ
2.สื่อวัสดุ 3 มิติ 
3.สื่อวัสดุอิเล็คทรอนิคส์  

1.สื่อวัสดุ 2 มิติ

สื่อวัสดุ 2 มิติ  โดยทั่วไปหมายถึง  สื่อวัสดุกราฟิกซึ่งมีรูปร่างบางแบนไม่มีความหนา  มีองค์ประกอบสำคัญคือ  รูปภาพ  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์  สื่อเหล่านี้ได้แก่  กราฟ(graphs)  แผนภุมิ(charts)  ภาพพลิก(flipcharts)  ภาพโฆษณา(posters)  ภาพชุด(flash cards)  แผ่นโปร่งใส(transparencies)
ความหมายของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศน์วัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก

วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้
7.แผนภูมิ(Charts)      แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ   เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น
ประเภทของแผนภูมิมี9ประเภท
          1. แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts) เหมาะกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่งๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง หรือการจำแนกโครงสร้างใหญ่ไปหาองค์ประกอบย่อย  เช่น  ประเภทของเครื่องดนตรี       ประเภทของการคมนาคมอาหารหลัก5หมู่
          2.แผนภูมิแบบสายธาร (Streem Charts) ใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกันจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้  เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล ปัจจัย 4 เป็นต้น

         3.แผนภูมิแบบต่อเนื่อง( Flow Charts)  ใช้แสดงเรื่องราวกิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ 
        4.แผนภูมิแบบองค์การ( Organization Charts)  เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น
          5.แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ( Comparison Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่   เป็นต้น 
        6.แผนภูมิตาราง (Tabular Charts)  ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลา กับเหตุการณ์ เช่น ตารางเรียน ตารางเวลารถไฟเข้าออก เป็นต้น
       7.แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ( Developmental Charts)   แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก
        8.แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Pictorial Charts) ใช้ชี้แจงส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน เช่น
ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ อวัยวะภายในของมนุษย์  ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น

       9. แผนภูมิขยายส่วน   ( Enlarging Charts) ใช้แสดงส่วนที่ขยายจากส่วนเล็กๆที่ต้องการให้เห็นเด่นชัดขึ้น
7.2 แผนสถิติ (Graph)
                  แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
7.3 แผนภาพ(Diagrams)
                 แผนภาพเป็นทัศน์วัสดุที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ต่างๆ โดยแสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น
7.4 ภาพพลิก
ภาพพลิก เป็นทัศน์วัสดุ ที่เป็นชุด ของภาพถ่าย ภาพวาด แผนภูมิ หรือกราฟ ซึ่งนำมารวมเข้าเป็นเรื่องราว ให้มีความต่อเนื่อง สัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ จำนวนประมาณ 10 -15 แผ่น เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนอ สื่อที่เป็นเรื่องเป็นราว ใช้กับกลุ่มผู้เรียน ที่มีขนาดไม่เกิน 20 -30 คน ถ้าใช้นอก สถานที่ ควรมี ขาหยั่งสำหรับแขวนโดยเฉพาะ 
7.5 ภาพโฆษณา (Posters)
ภาพโฆษณา เป็นทัศน์วัสดุที่ใช้แสดงความคิดหรือข้อเท็จจริงด้วยสัญลักษณ์ ภาพประกอบที่สะดุดตา คำขวัญที่กินใจ หรือคำอธิบายสั้นๆ โดยการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นในระยะเวลาอันสั้น สามารถเข้าใจได้ง่าย จดจำได้อย่างรวดเร็ว
7.6 การ์ตูน
การ์ตูน เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่านทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

2.สื่อวัสดุ 3 มิติ

สื่อวัสดุ 3 มิติ  เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ  สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวมันเอง  ที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้แก่  หุ่นจำลอง(models)  ของจริง(real  objects)  ของตัวอย่าง(specimens)  ป้ายนิเทศ(bulletin  board)  กระดานแม่เหล็ก(magnify  boards)  ตู้อันตรทัศน์(diorama)
                ความหมายของสื่อวัสดุ  3  มิติ
วัสดุ 3 มิติบางครั้งเรียกกันว่าวัสดุมีทรงหมายถึง  วัสดุที่มีลักษณะเป็นสามมิติ  คือ มีความกว้าง ความยาความหนา หรือความลึก ในทางการเรียนการสอนหมายถึง  ของจริง  ของตัวอย่าง  ของจำลอง  ตู้อันตรทัศน์   และสิ่งของอื่น ที่มีลักษณะเป็นรูปทรง

ตัวอย่างสื่อวัสดุ 3 มิติ

                2.1 หุ่นจำลอง (Models) หมายถึง วัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง   เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถจะใช้ของจริง  ประกอบการเรียนการสอนได้  เช่น  การอธิบายลักษณะและตำแหน่ง  ของอวัยวะภาพในร่างกายของคนหรือสัตว์  ดังนั้นของ จำลองจึงมีคุณค่าต่อการเรียนใกล้เคียงกับของจริง
2.2ของจริง (Real Things) หมายถึง  สิ่งเร้าต่างๆที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5  ทำให้สามารถมองเห็น  ได้ยิน  ได้กลิ่น  ได้ลิ้มรส  และได้สัมผัสกับบรรยากาศของของจริงด้วยตนเอง  ดังนั้นสื่อประเภทของจริงจึงมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง 
2.3  ป้ายนิเทศ( Bulletin Boards )  ป้ายนิเทศเป็นทัศน์วัสดุที่นำมาใช้ในการแสดงเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้ดูโดยใช้วัสดุหลายอย่างติดไว้บนแผ่นป้าย เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความที่อธิบายภาพ รวมทั้งวัสดุ 3 มิติ ของจริงหรือของจำลอง  เผยแพร่ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือ ใช้เป็นป้ายประกาศ และแสดงผลงานของหน่วยงานต่างๆ ป้ายนิเทศควรมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งผู้ดูสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้บรรยายประกอบแต่ไม่ควรมีรายละเอียดมากเกินไป ควรบรรจุเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว ถ้าเนื้อหามากควรจัดแสดงเป็นหลายๆแผ่น เรียงไปตามลำดับ มีจุดเริ่มต้นและจบในตัวเอง
2.4 ตู้อันตรทัศน์(Diorama)  เป็นทัศน์วัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีด้วยลักษณะเป็นฉาก ที่มีความลึกคล้ายกับของจริง  วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน สีสันเหมือนจริง เช่น ฉากใต้ทะเลมีฉากหลังเป็นสีน้ำเงิน พื้นเป็นทรายและโขดหินปะการัง แวดล้อมด้วยหอย ปู ปลา รวมทั้งสัตว์และพืชใต้ทะเล  เป็นต้น

3.สื่อวัสดุอิเล็คทรอนิคส์

 สื่อวัสดุอิเล็คทรอนิคส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเคริองอิเล็คทรอนิคส์ ต่างๆมีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วย  เช่น  เทปเสียง(tape)  ม้วนดีวีทัศน์(video  tape)  แผ่นซีดี(CD-ROM)    วีซีดี(VCD)  ดีวีดี(DVD)  เป็นต้น
ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็คทรอนิคส์  
วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปอักษร ภาพ และเสียงไว้โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง อีกครั้งหนึ่ง

ตัวอย่างสื่อ

1.แผ่นซีดี (Compact Disc)   แผ่น CD เป็นแผ่นพลาสติกเคลือบที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีช่องตรงกลาง ขนาด 4.8 นิ้ว (12 cm.) หนา 1.2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกทำจากสาร polycarbonate, สารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ, สารอคีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิวเลเบล (Label)  แผ่นซีดีโดยทั่วไปที่วางขาย จะมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขนาด 650 MB หรือ 700MB  ต่อแผ่น CD 1 แผ่น  แต่ในบางร้านค้า เราก็สามารถพบเห็นแผ่น CD ขนาดเล็ก เรียกว่า Mini CD  ซึ่งมีความจุอย่างต่ำ 2 MB
2. แผ่นวีซีดี (VCD :Video Computer Disc)   เป็นวัสดุอิเล็กทรอนิคส์ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์  มีลักษณะทางกายภาพเหมือนแผ่นซีดีทั่วไปทุกประการ  เพียงแต่แผ่นวีซีดีสามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นภาพยนตร์พร้อมเสียงสเตอริโอได้ถึง 1.44 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) การบันทึกใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลโดยใช้มาตรฐาน MPEC ทำให้สามารถบันทึกและภาพยนตร์ที่มีความยาวมากๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.แผ่นดีวีดี(Digital Video Disc)   เป็นแผ่น CD ที่พัฒนาความจุให้มากขึ้นจากปกติที่จุได้แผ่นละ 650 MB DVD จะบรรจุได้ตั้งแต่        6 - 15 GB และยังคงเพิ่มขีดความสามารถในการจุข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ ความมุ่งหมายในการ ใช้งานหลักตอนนี้ก็คงจะบันทึกภาพยนต์ ซึ่งสามารถที่จะใช้แผ่นเดียวพร้อมกับ 6 ภาษาได้อย่างสบาย และคุณภาพของภาพก็คมชัดกว่า VCD อย่างมาก
4.แผ่นเอสวีซีดี (SVCD: Super VCD)   เป็นแผ่นที่มีคุณลักษณะเพิ่มเติมจากแผ่นวีซีดีพัฒนาขึ้นโดยคณะผุ้วิจัยและผู้ผลิตที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน โดยอาศัยเทคโนโลยีของแผ่นดีวีดี แผ่นเอสวีซีดีเป็นแผ่นที่ใช้มาตรฐาน MPEG2   ที่มีความคมชัดภาพ 576*480จุดและเสียงสเตอริโอ ช่องทางของ MPEG2 Audio Layer 2ซึ่งมีอัตราการบีบอัด 1:6-1:8 เอสวีซีดีแผ่นหนึ่งจะเล่นได้ประมาณ 35-80 นาที
5.แผ่นเอ็กซ์วีซีดี (XVCD : eXtended  VCD)  แผ่นเอ็กซ์วีซีดี (XVCD:eXtended VCD) เป็นส่วนขยายของแผ่นวีซีดี รุ่น 2.0 อาจกล่าวได้ว่าเอ็กซ์วีซีดีเป็นการผสมคุณลักาณะระหว่างวีซีดี รุ่น 2.0 และดีวีดี โดยที่แผ่นเอ็กซ์วีซีดีจะมีอัตราการเสนอภาพ 3.5 ล้านบิตต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าแผ่นวีซีดีธรรมดา  แต่ไม่สามารถใช้เสียงหลายช่องทาง(             multi-audio streams) หรือมีข้อความบรรยายได้
6.แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี (XSVCD : eXtended  VCD)  แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี (XSVCD:eXtended VCD) เป็นการผสมคุณลักษณะระหว่างเอ็กซ์วีซีดีและดีวีดี  แผ่นวีซีดีรูปแบบนี้ใช้ MPEG2 เช่นเดียวกับเอสวีซีดีแต่จะมีอัตราการเสนอภาพเร็วถึง9.8 ล้านบิตต่อวินาทีโดยมีความคมชัดของภาพมากกว่าด้วย  สามารถใช้เสียงหลายช่องทางและมีข้อความบรรยายได้  แผ่นวีซีดีคุณภาพสูงทั้งเอสวีซีดี  เอ็กซ์วีซีดี  และเอ็กซ์เอสวีซีดี  ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่นวีซีดีธรรมดาได้ แต่ต้องใช้กับรุ่นที่เล่นได้ตั้งแต่แผ่นวีซีดี รุ่น 2.0 ขึ้นไป หรือจะเล่นกับเครื่องดีวีดีก็ได้